about
about
ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

ในการร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรม

เกี่ยวกับ

KMUTTWORKS

โครงการริเริ่มของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ) เพื่อร่วมพัฒนาภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านการพัฒนาทักษะและสมรรถนะกำลังคนวัยทำงานอย่างยั่งยืน

  • Solution provider และ facilitator
    Solution provider และ facilitator

    เรามีบทบาทเป็น solution provider และ facilitator ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และงานวิจัยของนักวิชาการให้ออกมาในรูปแบบโปรแกรมเพื่อการพัฒนาทักษะกำลังคนวัยทำงานและทุกช่วงวัย ที่ตอบโจทย์ เรียนแล้วนำไปใช้งานได้จริง มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียนที่แตกต่าง

  • Hybrid Learning
    Hybrid Learning

    โปรแกรม upskill & reskill ของเรา จะจัดดำเนินการในรูปแบบ hybrid learning คือ การผสมผสานระหว่าง การเรียนแบบออนไลน์ การทำเวิร์คช็อป และการให้คำปรึกษา (consulting & coaching) ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ ประกาศนียบัตรร่วมในโปรแกรมที่เป็นความร่วมมือ ระหว่าง มจธ และสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ

  • Co-designed หรือ customized
    Co-designed หรือ customized

    ทุกๆโปรแกรมที่ มจธ ร่วมงานกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเป็น co-designed หรือ customized เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนจะได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes ที่ตรงกับความต้องการของทุกฝ่าย (matching stakeholder’s demands)

Leverage your skills

เรามีโปรแกรม upskill/reskill ที่ออกแบบและพัฒนาตามมาตรฐานของ มจธ. ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า work ให้เลือกสรร ที่นี่ โดยทุกโปรแกรมสามารถปรับตามระดับสมรรภนะได้ตามความเหมาะสม

โปรแกรมน่าสนใจล่าสุด

Leverage ทักษะและสมรรถนะของคุณ ให้ work ขั้นสุด ไปกับ KMUTTWORKS

Customized Program

เมื่อภาคอุตสาหกรรมต้องการพัฒนาบุคลากร เราสามารถ Engage คณาจารย์ละผู้เชี่ยวชาญจากทางมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานร่วมกันได้ เพื่อศึกษาและออกแบบ Development Program จากโจทย์และสถานการณ์จริงในการทำงาน (real demand) พร้อมระบบสนับสนุนต่างๆให้เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กรของท่าน

Find your solution
สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และทิศทางความต้องการ

ด้านการพัฒนากําลังคนในอนาคตของอุตสาหกรรม เป้าหมาย

กลุ่มบริษัทขนาดเล็ก, กลุ่มบริษัทขนาดกลาง
กลุ่มบริษัทขนาดเล็ก, กลุ่มบริษัทขนาดกลาง
SME, Startup
อ่านที่นี่ อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก (S-curve) ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยปีละหลายแสนล้านบาท ในปี 2562 ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารแปรรูปเป็นอันดับที่ 11 ของโลก และมีเป้าหมายที่จะก้าวมาเป็น 1 ใน 10 ของผู้ส่งออกอาหารโลก ปัจจุบัน มีสถานประกอบการธุรกิจอาหารอยู่กว่า 128,000 กิจการ มีการจ้างงานมากกว่าหนึ่งล้านอัตรา หรือคิดเป็นสัดส่วน 19.7% ของการจ้างงานในประเทศไทย แต่สัดส่วนการจ้างงานส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติอยู่มาก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ยังคงใช้เทคโนโลยีในการแปรรูปขั้นพื้นฐาน เน้นการแข่งขันด้วยกลไกด้านราคามากกว่าการทำงานวิจัยและพัฒนา ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง ผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า ลดต้นทุนการผลิต ยกระดับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยเข้าสู่ระบบการผลิตอุตสาหกรรมสี่จุดศูนย์ หรืออุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ซึ่งเน้นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ จากการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรและขับเคลื่อนองค์กรด้วยงานวิจัยนวัตกรรมแทนการแข่งขันด้วยความได้เปรียบสัมพัทธ์ ทางด้านต้นทุนแรงงานและความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเช่นที่ผ่านมา
การที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารของไทยในเวทีโลก นอกจากการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารทั้งในด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเพิ่ม มูลค่าของสินค้าและแก้ปัญหากระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) และนำไปสู่การก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)
จากรายงานสมรรถนะบุคลากรในอนาคตสำหรับสิบสองกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ.2563-2567) เมื่อจัดทำโดย สอวช. พบว่า อุตสาหกรรมอาหารต้องการบุคลากรกว่า 12,000 คนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยกลุ่มวิชาชีพทีมีความต้องการสูงได้แก่ นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร วิศวกรเคมีขั้นสูง นักกฎหมายอาหาร นักโภชนาการ นักเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้การที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยจะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว จำเป็นต้องมีการเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้กับบุคลากรในภาคการผลิต ให้สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ สามารถแสวงหาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถนำความรู้และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์การผลิตจริง ที่มีความผันแปรของปัจจัยการผลิตทั้งที่สามารถคาดการณ์ได้และไม่ได้
ระบบรางและโลจิสติกส์
ระบบรางและโลจิสติกส์
Next-Generation Automotive
อ่านที่นี่ ปัจจุบัน การคมนาคมด้วยระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาจากอดีตมาก ทั้งเทคโนโลยี และโครงข่ายเส้นทางท่ีมากขึ้น โดยเฉพาะระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลที่มีทั้งระบบเมโทร ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว และระบบรถไฟฟ้าชานเมือง อย่างไรก็ดี ระบบรางเป็นระบบ ขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ มีผู้โดยสารและผู้ใช้บริการต่อเที่ยวหรือต่อวันเป็นจานวนมาก หากเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อุบัติเหตุ จะส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนจานวนมาก ดังน้ัน ความปลอดภัย ของระบบ ผู้ใช้บริการ และประชาชนทั่วไป จะต้องให้ความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาระบบและ พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสาคัญอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
Next-Generation Automotive
อ่านที่นี่ อุตสาหกรรมยานยนต์ถือได้ว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักพื้นฐานขนาดใหญ่ในประเทศไทย ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภาครัฐได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต จึงให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Automotive ) โดยจัดให้เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine of Growth) ของประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่สามารถจำแนกตามกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยีชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Parts), เทคโนโลยีอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ (Automotive Accessories), เทคโนโลยีตัวถังยานยนต์ (Automotive Body Parts), เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles (EVs)), เมื่อเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ (Fuel Cell Vehicles) และเทคโนโลยีรถบรรทุก (Loading Vehicles) ปัจจุบันผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ร่วมทุนกับผู้ผลิตยานยนต์ระดับโลก เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตส่งออก และด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ทักษะแรงงานที่เหมาะสม โครงสร้างพื้นฐานที่ดีและมาตรฐานการสนับสนุนต่างๆจากภาครัฐ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีผู้ประกอบยานยนต์ระดับโลกจำนวนมาก โดยกลุ่มผู้ประกอบยานยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถจำแนกโครงสร้างการผลิตและลำดับขั้น จะประกอบด้วย - ผู้จัดหาวัตถุดิบลำดับที่ 1 หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 (First tier, Tier I) คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทอุปกรณ์และจัดส่งให้แก่โรงงานประกอบยานยนต์โดยตรง ซึ่งจะมีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานประกอบกำหนด - ผู้จัดหาวัตถุดิบลำดับที่ 2 หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 2 (Second tier, Tier II) คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนย่อย (Individual part) เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 ซึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 - ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 3 (Second tier, Tier III) คือ ผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเพื่อจัดส่งให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 และ 2 เลยนะด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในประเทศตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการผลิตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ คือ การยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและรองรับเทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 2 และ 3 ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย การผลิตเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตจะต้องมีทั้งทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการผลิตนั้นๆ ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องจะช่วยเชื่อมโยงให้การทำงานเป็นไปตามทักษะที่ถูกต้อง และส่งเสริมให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานนั้นๆ สำหรับประเทศไทยรวมถึงกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ แรงงานยังเป็นปัจจัยสำคัญขององค์กรในการขับเคลื่อนไปสู่การเติบโตและสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะฝีมือได้สร้างความกังวลให้กับภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์โลหะยังคงเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้เป็นวัสดุหลักสำหรับการผลิตยานยนต์สมัยใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโลหะเบา เช่น อลูมิเนียม แม็กนีเซียม หรือแม้แต่กลุ่มเล็กเอง เช่น เหล็กกล้ามีความแข็งแรงสูง ที่ได้มีการพัฒนาถึงเจนเนอเรชั่นที่ 3 เพื่อรองรับการใช้งานในยานยนต์สมัยใหม่ที่ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นในทุกชิ้นส่วน หรือแม้แต่ชิ้นส่วนเหล็กล้อเองที่ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับชิ้นส่วนรถบรรทุกและเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรง เมื่อต้องการประสิทธิภาพในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นแต่ละชิ้นส่วนโลหะจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและผ่านการควบคุมการผลิตที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมที่เป็นสากลมากขึ้น เพื่อผลิตชิ้นงานให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลและ ควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิตจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ในโรงงานในการผลิตชิ้นส่วนโลหะนั้น เป็นที่ทราบดีว่า โครงสร้างจุลภาคสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน การผลิตและการควบคุมขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ได้โครงสร้างจุลภาคทางโลหะวิทยาตามที่ได้รับการออกแบบไว้จึงมีความสำคัญยิ่ง ในทางโลหะวิทยาได้มีการกำหนดลักษณะโครงสร้างตามมาตรฐานสากล วิธีการที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับใช้เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์และกำหนดชนิดประเภทของโครงสร้างทางโลหะวิทยาและโลหะกลุ่มต่างๆไว้อย่างชัดเจน เช่น วิธีการวัดขนาดเกรน การดูผลการปรับปรุงลักษณะทางโลหะวิทยาของยูเทคติคซิลิคอนในอลูมิเนียม-ซิลิคอน การกำหนดชนิดประเภทของกราไฟท์ในเหล็กหล่อ การประเมินความกลมและปริมาณของกราไฟท์ในเหล็กหล่อ รวมถึงชนิด ปริมาณ ลักษณะ การกระจายตัวของเฟสต่างๆ ในโครงสร้างทางโลหะวิทยาที่แตกต่างกันเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์โดยตรงกับการควบคุมปัจจัยในกระบวนการผลิตของแต่ละโรงงาน องค์ความรู้เบื้องต้นทางด้านโลหะวิทยาที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสังเกตปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงประเด็น สามารถช่วยกำหนดที่มาของปัญหาและรายงานปัญหาให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับที่สูงขึ้นไปได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักวิชาการ ในการตรวจสอบวิเคราะห์โครงสร้างทางโลหะวิทยาสำหรับควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนโลหะในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น เครื่องมือตรวจสอบพื้นฐานหลักๆที่นิยมและจำเป็นต้องใช้ คือกล้องจุลทรรศน์แบบแสง ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้วิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรมวิเคราะห์ภาพถ่ายทางโลหะวิทยา ซึ่งโปรแกรมวิเคราะห์ภาพถ่ายจะเข้ามาช่วยให้การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานโลหะมีความรวดเร็วและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วและมีความแม่นยำในการวิเคราะห์ ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้สายตามนุษย์วิเคราะห์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ความถูกต้องแม่นยำของผลการวิเคราะห์นั้นมีปัจจัยหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเลือกบริเวณชิ้นงานที่ทดสอบ ขั้นตอนการเตรียมชิ้นงานเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานกล้อง OM และความรู้ความเข้าใจในหลักการทำงานของโปรแกรมวิเคราะห์ภาพถ่ายทางโลหะวิทยา รวมถึงขั้นตอนการกัดกรด เพื่อดูโครงสร้าง การเลือกใช้วิธีมาตรฐานในการทดสอบเป็นต้น ดังนั้น หากผู้ที่ปฏิบัติงานได้รับองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านโลหะวิทยาที่ถูกต้อง หรือ ได้มีการทบทวนองค์ความรู้ใหม่ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติงาน ได้รับการฝึกฝนแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานนำองค์ความรู้เหล่านี้กลับไปพัฒนางานที่ตนเองปฏิบัติได้ทันทีลดโอกาสการเกิดการแปลผลโครงสร้างทางโลหะวิทยาที่ผิดพลาดได้ไม่มากก็น้อย จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนากำลังคนโดยเฉพาะระดับผู้ปฏิบัติงานโดยการเพิ่มพูนองค์ความรู้ ทบทวนองค์ความรู้ทางด้านโลหะวิทยาซึ่งเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านทั้งในภาคทฤษฏีและการฝึกปฏิบัติเป็นภารกิจที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งในประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่อยู่ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 2 และ 3 จำนวนมาก ที่ต้องการเพิ่มทักษะความรู้เฉพาะด้านให้กับบุคลากรในสายการผลิตของตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานเพื่อยกระดับตัวเองไปสู่กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในลำดับที่สูงขึ้น
Bio Circular Green Economy
Bio Circular Green Economy
Low Carbon Economy (Green Energy)
อ่านที่นี่ จากนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 ของรัฐบาล ซึ่ง เป็นแนวคิดการนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน วัสดุและเคมี ชีวภาพ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ บริษัท อาร์ไอแอล 1996 จากัด เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนิคมอุตสาหกรรม คอยขับเคลื่อนให้ โรงงานทั้งหมดภายในนิคมฯ เป็นโรงงานเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory โดยนาแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ESG (Environmental, Social ,Governance) เป็นกรอบการดาเนินงาน รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานการ จัดการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Management; PSM) มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับสูงสุด (Green Industry Level 5) รวมทั้งมาตรฐาน โรงงานเชิงนิเวศ (Eco Factory) เป็นต้น หนึ่งในหลายโครงการของบริษัท อาร์ไอแอล 1996 จากัด ที่เกี่ยวข้องกับ การขับเคลื่อน BCG model ของรัฐบาลคือโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยในปี 2023 ทางบริษัท อาร์ไอแอล 1996 จากัด มีแผนทจี่ ะให้อาคารสานักงานของนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ใช้พลังงานไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ 100 % ดังน้ันการพัฒนากาลังคนในโครงการดังกล่าวให้มีความรู้ มีทักษะและทัศนคติที่พร้อม จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้แผนการนี้ประสบความสาเร็จและเกิดความยั่งยืนเพ่ือรองรับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล หน่วยงาน OETC ภายใต้บริษัท อาร์ไอแอล 1996 จากัด เป็นหน่วยงานที่ให้บริการการพัฒนาบุคลากร และรับจัดฝึกอบรมและสัมมนาให้กับทั้งบริษัทภายในเครือและบริษัทภายนอก มีความเชี่ยวชาญในการจัดฝึกอบรม การจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ในขณะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีองค์ความรู้ที่ เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การทดสอบและการใช้งาน การร่วมมือกันจึงเป็นการนาจุดแขง็ ของทั้งสองฝ่ายมารวมกันเพื่อสร้างหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการ และเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของเทรนด์
ทักษะอาชีพต่างๆ ได้ที่ KMUTTWORKS Webinar

ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน เวลา 13.30-15.30 น.


รับชมสัมมนาย้อนหลัง

สำหรับผู้ที่สนใจให้ KMUTTWORKS จัดโปรแกรม UPSKILL
ตามความสนใจของตนเองสามารถให้ข้อมูลได้ที่นี่

Design my own program

Join us as an Instructor

achieve thumb

สนใจเปิดโปรแกรม

เพื่อจัดพัฒนาทักษะและสมรรถนะให้แก่กำลังคนวัยทำงาน

ติดต่อเรา
achieve thumb

จัดโปรแกรมอยู่แล้วกำลังมองหา LMS

เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้เรียน

ติดต่อเรา

มาเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับคนวัยทำงาน
ที่เราเชื่อมั่นว่า WORK

กับเราที่นี่ KMUTTWORKS เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน คุณต้องไม่หยุดนิ่ง